เติมเต็มความสุขของบ้านกับ Podium Furniture
“บ้าน” คือสถานที่ของชีวิตที่เราทุกคนต้องมี ภายนอกบ้านนั้นไม่ว่าจะเป็นรอบรั้ว ขอบปูน กำแพง ผนัง หน้าต่าง ประตูเข้าออก ก็ล้วนเปรียบเสมือนเกราะกำบังภัยให้เราเข้ามาหลบพักกายพักใจยามเหน็ดเหนื่อย ส่วนภายในบ้านนั้นก็เช่นกัน เป็นพื้นที่ที่รายล้อมไปด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ โต๊ะ ตู้ เตียง หรือรวมๆ ที่เราเรียกว่า “เฟอร์นิเจอร์” เหล่านี้ก็เปรียบเสมือนสิ่งอำนวยความสะดวกช่วยฟื้นฟูพลังชีวิต
บ้านจึงขาดไม่ได้ที่จะต้องมีเฟอร์นิเจอร์ หากบ้านหลังใดไม่มีเฟอร์นิเจอร์ บ้านหลังนั้นก็ไม่ใช่บ้าน…
แล้วจะดียิ่งกว่ามั้ย… ถ้าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นๆ สร้างขึ้นจากความประณีตและความตั้งใจในทุกกระบวนการ สำหรับผู้ที่คัดสรรมันไปใช้งาน มีความพึงพอใจสูงสุด สุขทั้งกายสบายทั้งใจ ให้เรารู้สึกรักบ้านที่น่าอยู่นี้มากยิ่งขึ้น แถมยังเดินตามแนวคิดรักสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
คุณจรัณวัต เมาฬีกุลไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการวัย 33 ปี หนุ่มไฟแรงวิสัยทัศน์ไกล ผู้ก่อตั้ง Podium หัวเรือของ 4 แบรนด์หลักอย่าง CURIO, ART, CANE และ Bloc.Smith ร่วมเปิดวิสัยทัศน์ของธุรกิจและหัวใจของเฟอร์นิเจอร์พรีเมี่ยมกับเราในวันนี้
Q : ต้นกำเนิดของแบรนด์ Podium
เราเริ่มต้นจากธุรกิจโรงงานไม้ OEM ของคุณพ่อกว่า 40 ปีที่ผ่านมา โดยส่งออกไปร้าน Home Furniture ที่ญี่ปุ่นชื่อว่า “Nitori” ศูนย์รวมสินค้าคล้ายๆ กับ IKEA ในบ้านเรา แต่แตกต่างที่มีเยอะและดีไซน์ตรงกับ Culture ของญี่ปุ่นแท้ๆ เช่น ไซส์เล็ก เตี้ยกว่า เล็กกว่า
ถ้าพูดถึงส่วนของโรงงานนั้น เรามีประสบการณ์จาก OEM เยอะมากจนรู้ว่าสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ คือ ค่าแรงงาน นอกนั้นล้วนเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ตามราคากลางทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าไม้ FSC (Forest Stewardship Council) จากอเมริกาและยุโรป ที่ได้มาตรฐานการส่งออกและรักสิ่งแวดล้อมไม่ต่างกันทั่วโลก หรือค่าวัสดุอย่างกาวเองก็ตาม
จนถึงจุดเปลี่ยน… ที่เริ่มผลิตสินค้าโมเดลที่เรา Develop ขึ้นเอง แล้วขายออกในดีไซน์ของเราเอง ซึ่งเริ่มมีผลตอบรับที่ดี แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปเช่นกัน คือ ไม้ยางพาราแพงขึ้น จนเราเริ่มเอาไม้โอ๊ค ไม้วอลนัท มาปรับใช้แทน และร่วม Collaboration กับ SLAP Studio จนเกิดแบรนด์แรกของเราขึ้น คือ CURIO , ART, CANE และ Bloc.Smith ในเวลาต่อมา
CURIO เป็นเอกลักษณ์ของเฟอร์นิเจอร์เรียบๆ ดูสบายๆ สามารถเข้ากับการตกแต่งของบ้านได้ทุกหลัง
ในส่วนของ Showroom นั้น สมัยก่อนคนมองว่าร้านเฟอร์นิเจอร์ คือ สถานที่ต้องครบทุกสิ่งมีทุกอย่าง ครบจบในที่เดียว Podium เองก็พัฒนาอยู่ตลอด โดยเราเริ่มจากชลบุรี ย้ายมาเสรีเซนเตอร์ ซีคอนแควร์ ทองหล่อ รัชดา แม้ทุกที่จะมีขนาดใหญ่กว้างขวาง แต่เทรนด์ปัจจุบัน เราทราบแล้วว่าตลาดไม่จำเป็นต้องอยู่ริมถนนใหญ่เสมอไป ขอแค่ทำเลใกล้ลูกค้าก็พอ เราจึงมองหาที่สถานที่ที่เป็นบรรยากาศแบบบ้าน น่าอยู่ จนสุดท้ายจึงปักหลักโชว์รูมอยู่ที่สาทร สถานที่กว้างใกล้เคียงกับบ้านที่แท้จริง โปร่งสบาย และเป็นกันเอง และที่สำคัญไม่ยากเกินกว่าที่ลูกค้าเราจะเข้าถึงได้
นอกจากนี้ เรายังมี Showroom ที่ New York, Australia, Korea, Japan, India เพื่อแสดงสินค้าของเราอีกด้วย
Q : เริ่มต้นสนใจทำเรื่องแบรนด์นี้อย่างไร ?
เริ่มต้นจากความคิดที่ว่า “ทำอย่างไรให้มีคนนำสินค้าของเราไปขาย ?” ผมจึงไปออก Exhibition ที่ต่างประเทศอย่างสิงค์โปร์ก่อน เพราะ ตลาดเมืองไทยไม่พอกับการผลิตของเรา เราลดสเกลโรงงานลง แต่ไปเพิ่มคุณภาพและทักษะต่างๆ ทดแทน ทั้งงานไม้ วัตถุดิบและดีไซน์ที่เปลี่ยนไปมากขึ้น
ผมดูแลทั้งหมดตั้งแต่ Branding และ Marketing ประสบการณ์จากต่างประเทศที่เราขายได้ที่อเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลี ก็ตาม ล้วนมีส่วนพัฒนาจน OBM ของเราดีขึ้น
Q : ทำไมถึงเลือก “งานไม้” ?
ผมคิดว่าไม้ค่อนข้างเป็นสิ่งที่ยั่งยืน ป่าโตขึ้นทุกปี เพราะเรามีวิธีเลือกตัดให้ถูกต้องตามหลักการ ไม้จึงไม่ใช่สิ่งที่หายาก มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากกว่า เพราะ มันเป็นตัวล็อคดาวน์คาร์บอนที่ดีที่สุด เป็น Clean Building ที่แท้จริง ที่เยอรมันนีเองก็มีโรงงานทำไม้บีชที่ใช้เทคโนโลยีใหม่เรียกว่า “Baubuche” ซึ่งเป็นกระบวนการอัดไม้วีเนียร์เข้าด้วยกันด้วยความร้อน สามารถใช้ทำคานโครงสร้างอาคาร คุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน และกันไฟได้ ซึ่งแนวโน้มอาคารในยุโรปในอนาคตก็จะทำจากไม้มากขึ้น เปลี่ยนจากการใช้เหล็กเพราะเรื่อง Carbon Credit
ไม่เพียงแค่ไม้โอ๊ค ไม้วอลนัท ไม้บีชเท่านั้น แต่ไม้สักหรือไม้พม่าเองก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษา นำมาดีไซน์ใช้งานเช่นกัน
ผมชอบความเป็นธรรมชาติของวัสดุ ไม่ว่าจะไม้ หรือเหล็กก็ตาม อนาคตเราก็ยังปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดด้วยต่อไป
Q : จุดแข็งของ Podium คืออะไร ?
ผมมองว่าแค่การดีไซน์อย่างเดียว ก็ไม่สามารถทำให้เฟอร์นิเจอร์ตอบโจทย์การใช้งานได้ อย่าง CANE เรามีเทคโนโลยีดีๆ ที่เราทำได้ เราสามารถดัดไม้วีเนียร์ได้ และนำสิ่งนี้ไปคุยกับดีไซน์เนอร์ ออกแบบผลงานเพื่อให้เกิด Engineering และ Art ผสมผสานภายในเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเดียวกัน
หากเราทำแค่ Art อย่างเดียว เราก็จะโดนก็อปปี้ได้ไวมาก แต่มันไม่มีทางเหมือนได้ในทุกรายละเอียดและเทคโนโลยีขั้นตอนการผลิต นั่นคือ จุดแข็งในทีม Engineer ฝ่ายผลิตของเรา ที่เราทดสอบสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นเรื่อยๆ อยู่เสมอ
เราให้ความสำคัญกับ 3 สิ่ง คือ คุณภาพ ดีไซน์ และ นวัตกรรม...
อีกอย่างหนึ่ง ผมมองว่าไม้หรือสิ่งต่างๆ เป็นสิ่งที่คล้ายกันทั่วโลก นำเข้ามาเหมือนๆ กัน แต่สิ่งที่แตกต่างและเป็นข้อได้เปรียบหลักที่สุด คือ ฝีมือคน ในต่างประเทศงานจำพวก Handmade นั้น ชาวต่างชาติยังให้ราคากับฝีมือคนแบบก้าวกระโดดอยู่มาก เพราะบางทีเครื่องจักรมันตอบไม่ได้ เนื่องจากวัสดุมันไม่นิ่ง
Q : ถ้าเช่นนั้น จับเทรนด์ของงาน Design อย่างไร ?
โรงงานของเรามี OEM เจ้าดีๆ ในยุโรปทำให้เราเห็นภาพเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และผมว่าเราก็เจอดีไซน์เนอร์เก่งๆ ทำให้ทั้ง Function และ Design ไปด้วยกันได้ การออก Exhibition ก็ทำให้รู้ว่าตลาดโลกไปในทิศทางไหนเช่นกัน
Q : เฟอร์นิเจอร์ที่กระแสดีมาก คือ CANE
Collection CANE เป็นงาน Craft ขายดีในอเมริกาและเกาหลี ซึ่งในไทยก็เริ่มมาเช่นกัน เราเริ่มจากงานแฟร์ และคนให้ความสนใจค่อนข้างเยอะ สัดส่วนขายถึง 30-40% เห็นผลชัดเจนเลยทีเดียว
CANE เป็นเฟอร์นิเจอร์งานหวาย เป็น Iconic ทื่คนจำได้ติดตามและมาแรงที่สุด ยิ่งในยุโรปแฟชั่นเฟอร์นิเจอร์หวายเป็นที่นิยมสูง มีเพียงไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่ทำได้ และมันเป็นความถนัดของเรา
Q : เล่าเรื่อง Bloc.Smith ให้ฟังบ้าง
ผมอยากทำ Kitchen Studio และ Walk-in Closet ที่เป็นงาน Solid Wood ส่วนหนึ่งเพราะผมทำงาน Interior ที่ได้ประสบการณ์จากกลุ่มลูกค้าโรงแรมญี่ปุ่น หัวใจหลักจึงเป็นงานดีไซน์และการประกอบที่ไม่จำเป็นต้องเก็บหน้างานซ้ำซ้อน ไม่ต้องโป้วสี การปิดผิว สิ่งที่เราทำ คือ Fitting และ Module System ที่เป็นมาตรฐาน หรืออย่างตู้เสื้อผ้าดีไซน์หน้าบานวีเนียร์ 3 เมตรเทียบเท่ากับงานยุโรป
เราใช้ Baubuche ในการทำโครงสร้างตู้ ข้อดี คือ แข็งมาก ไม้ตรง ไม่แอ่น ไม่โก่ง และทนมาก สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
ยิ่งปัจจุบันนี้คนให้ความสำคัญกับบ้าน กับพื้นที่ห้องครัวเยอะขึ้น ลงทุนกับครัวเยอะขึ้น ครัวที่เราลงมือทำอาหาร ใช้ชีวิตเองเองจริงๆ เราจึงพัฒนา Modularให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และทำให้ถึงจุดที่ดีที่สุดอยู่เสมอ
Q : อนาคตของแบรนด์ Podium จะไปในทิศทางไหน ?
เราไม่ได้โฟกัสในเมืองไทยอย่างเดียว แต่เรามองภาพใหญ่ว่าตลาดโลกต้องการอะไร แล้วเราจะไปถึงตลาดโลกได้อย่างไร
ผมตั้งเป้าให้มี Distributor หลายๆ เมืองทั่วโลก เพิ่ม Brand Image และ Collaborate กับ Designer จากต่างประเทศมากขึ้น ตอนนี้ก็เริ่มต้นจากในวงการของ Asian Designer จากเกาหลี ญี่ปุ่นก่อน เน้นใส่ใจเรื่องดีไซน์มากกว่าการค้า
อีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจคือ online shoppoing และ delivery service ที่ดีและมีมากขึ้น การซื้อเฟอร์นิเจอร์และการขนส่งในอนาคตจะเปลี่ยนไป เฟอร์นิเจอร์ของเราสามารถให้ลูกค้าประกอบเองได้ ไม่ยากเลย ซึ่งจะช่วยลดค่าขนส่งตอบแทนความประหยัดคุ้มค่าให้กับลูกค้าได้
ยิ่งช่วงนี้กลุ่มลูกค้า Retail อย่างร้านอาหารก็มีเยอะขึ้น รวมทั้ง Online Marketing ก็เป็นไปตามกลุ่มผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป คนสนใจการซื้อขายออนไลน์มากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่ม Expat แต่ถ้าเป็นกลุ่มคนไทยก็ยังสนใจเข้ามาชมสินค้าจริงมากกว่า ต้องมาจับ ซึ่งผมก็อยากให้มาสัมผัส ต้องมาลองนั่ง แล้วจะรู้ว่า Texture มันแตกต่างอย่างไร
Q : Lifestyle ตอนนี้ที่เรามองเห็น ?
ผมมองว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป คนเริ่มไม่อยากอยู่ที่แคบมากขึ้น มองหาเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานได้จริงมากขึ้น คนใส่ใจงานดีไซน์มากขึ้น ทำให้ผมวางแผนกับทีมพัฒนา สร้างคอลเลกชั่นเจ๋งๆ ใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี
Q : ทำไมถึงต้องมี Podium Furniture ในบ้านของคุณ
เราให้ความสำคัญกับ 3 ส่ิง สิ่งแรกคือคุณภาพซึ่งเรามีทีมงานมืออาชีพสร้างงานคุณภาพมาอย่างยาวนาน ส่ิงที่สองคือดีไซน์ เราให้ความสำคัญกับการออกแบบที่สวยงามในขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์การใช้ชีวิตให้เหมาะกับยุคสมัย สุดท้ายเราไม่หยุดที่จะนำนวัตกรรมต่างๆมาปรับใช้และต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ของเราที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น เราพัฒนาสินค้า อย่างเช่น งานโต๊ะไม้ ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องกังวลเรื่องผิวหน้าหรือรอยขีดข่วนใดๆ หรือต้องหากระจกมาวางทับ สีบาง คุณภาพดี คุณสมบัติกันน้ำ ที่สำคัญเรายังคงสัมผัสถึงธรรมชาติของไม้ได้เช่นเดิม
ผมแนะนำให้มาสัมผัสงานเฟอร์นิเจอร์นี้ด้วยตนเอง คุณภาพและเทคโนโลยีจะขาย Product ได้ด้วยตนเองแน่นอน
แนะนำให้มาสัมผัสงานเฟอร์นิเจอร์นี้... คุณภาพและเทคโนโลยีจะขาย Product ได้ด้วยตนเอง
Podium เฟอร์นิเจอร์แบรนด์ไทยคุณภาพระดับโลก ภายใต้ยุคของผู้นำ New Gen ผู้รู้ลึก รู้จริงคนนี้ยังคงมีอะไรให้ติดตามอีกมาก
พบกันที่ Podium @Satorn Branch หรือ www.podium.co.th